ผู้นำครอบครัวไม่ได้ซื้อประกันชีวิต
เพราะ “เขากำลังจะตาย”
แต่เพราะคนที่เขารัก “ต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป”
.
การซื้อประกันชีวิตเป็นการบอกรัก
และแสดง “ความรับผิดชอบ” ของหัวหน้าครอบครัว
อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด
.
สถิติที่น่ากลัวหลายตัวบอกเราว่า
ณ ปี 2563
คนไทยทุก 100,000 คน
เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 125 คนต่อปี
คนไทยทุก 100,000 คน
เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง 53 คนต่อปี
และเสียชีวิตจากโควิดอีกไม่รู้เท่าไหร่
ทั้งที่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
.
คนเรานั้นเห็นภายนอกดูสดใสแข็งแรงดี
แต่ข้างในใครจะรู้ว่าโรคร้ายอาจกำลัง
คืบคลานเข้ามาหาอย่างไม่รู้ตัว
ดังเคสคุณอ๊อด คีรีบูน ศิลปินในดวงใจ
วัยรุ่นยุค 90 อย่างผม เจ้าของเพลงดังอย่าง “รอวันฉันรักเธอ”
คุณอ๊อดจากไปด้วยโรคมะเร็งสมองในวัยเพียงห้าสิบเศษ
ยังความเสียใจให้แก่ครอบครัวและแฟนเพลงอย่างผมด้วย
.
ก่อนหน้านั้นผมเห็นคุณอ๊อดยังดูหนุ่มกว่าวัยมาก
มาร้องเพลงในรายการทีวีต่างๆ
ผมมักจะคิดในใจ “พี่อ๊อดไม่แก่เลยหรือพี่?”
แต่ใครจะทราบวันนี้ศิลปินในดวงใจท่านนี้จากโลกนี้ไปแล้ว
.
ขณะที่เขียนบทความนี้ ขนาดผมซึ่งไม่ใช่ญาติ
เป็นแค่เแฟนเพลงยังใจหาย
แล้วครอบครัวของพี่เขาล่ะ?
.
ผมไม่รู้ว่าพี่เขาได้ทำประกันชีวิตหรือไม่
แต่ผมเชื่อว่าพี่อ๊อดเป็นนักร้องชื่อดัง
มีรายได้ที่ดี ท่านคงเตรียมการไว้อย่างดี
.
แต่แน่นอน…ตามหลักการประกันชีวิต
สูตรการหารายได้คือ
เวลา x ความสามารถ = รายได้
หากเวลา หรือ ความสามารถ หายไป
รายได้จะกลายเป็นศูนย์ทันที‼️
.
คำถามที่ผมอยากถามท่านผู้อ่านบทความนี้อยู่ก็คือ
หากท่านเป็นผู้หารายได้หลักเข้าบ้าน
รายได้ของท่านมีความสำคัญต่อคนที่ท่านรัก
ท่านได้ปกป้องรายได้ของท่านด้วย “ประกันชีวิต” แล้วหรือยัง
.
“ประกันชีวิตไม่ได้ถูกออกแบบมาเพราะใครบางคนต้องจากไป
แต่ประกันชีวิตถูกออกแบบมาเพราะใครหลายคนต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป”
.
ทำประกันชีวิตอาจดูเป็นเรื่องยุ่งยาก
แต่ถ้าถึงคราวครอบครัวต้องพบกับความลำบาก
“ประกันชีวิต” จะเปลี่ยนเรื่องยากให้กลายเป็น “เรื่องง่าย”