ประกันชีวิตที่คุณมีเป็นแบบ “มีพอ” หรือแค่ “พอมี”
ถ้าเป็นแบบ “พอมี” บางทีก็ไม่ช่วยแก้ปัญหา!!!
คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่า?
ที่เวลาตัวแทนจะมาขายประกัน
คุณจะบอกตัวแทนว่า
“มีประกันแล้ว คงไม่ซื้อเพิ่ม”
.
คุณเคยได้ยินลูกค้าด่าบริษัทประกันไหม?
เช่น...
“ทำประกัน แต่เบิกอะไรไม่ได้เลย!”
“ทำประกัน แต่เบิกได้นิดเดียว จ่ายเบี้ยตั้งเยอะ!”
.
บ้านหนึ่ง สามีเสียชีวิต บริษัทประกันจ่ายเช็คสินไหม
ภรรยาหม้ายโวย “ทำไมจ่ายให้นิดเดียวจ่ายเบี้ยปีละหลายแสน
หักลบกลบหนี้ แล้วเหมือนเอาเบี้ยประกันตัวเอง
มาจ่ายค่าความคุ้มครองตัวเอง ทุเรศ!!”
.
และอีกหลายๆ เรื่อง
คุณรู้ไหมสาเหตุมาจาก 2 คำนี้แหล่ะ
“พอมี” กับ “มีพอ”
.
คุณรู้สึกยังไงถ้ารถเก๋งคุณยางแตก
แล้วคุณไปหยิบยางอะไหล่ท้ายรถ จะมาเปลี่ยน
ปรากฏว่าเป็น “ยางอะไหล่จักรยาน”
คือมียางอะไหล่ แต่ใช้การอะไรไม่ได้!
.
มีประกันแบบ “พอมี" คือมีประกันแล้ว
อาจซื้อเพราะช่วยตัวแทน ซื้อไปแบบอย่างงั้นๆ
หรือซื้อเพราะตัดความรำคาญ
แต่ไม่รู้ว่าตัวเองมีอะไรบ้าง ผลประโยชน์ไม่รู้
รู้แต่ว่า ตัวเองต้องจ่ายทุกปี!!
.
พอเกิดเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือ ว่าเสียชีวิต
ถึงได้เอากรมธรรม์มาศึกษาจริงๆ จังๆ
ว่ากรมธรรม์ที่ถืออยู่ มีผลประโยชน์อะไรบ้าง
แต่หลายครั้ง “สายเกินแก้”
.
เช่น
ลูกค้าเงินเดือนเป็นแสนปีละเป็นล้าน
ทำทุนประกันชีวิต 200,000 บาท
ค่างานศพยังไม่พอ!
คุณว่าจริงไหม?
ลูกค้าเป็นหนี้สิบล้าน
ซื้อประกันชีวิตไว้ล้านเดียว
อีกเก้าล้าน ลูกเมียที่ไม่รู้เรื่อง
รับภาระหนี้ต่อ
ซื้อประกันแต่สัญญาหลัก
ไม่ได้ซื้อค่ารักษาพยาบาล
เจ็บป่วยมา เบิกไม่ได้สักบาท
ท้ายที่สุด ได้แต่ตำหนิตัวแทนว่า
ทำไมไม่ซื้อให้ครบ
เรื่องนี้แก้ได้ ถ้าคุณตั้งธงว่า
เป็นเรื่องสำคัญของครอบครัว
คุณว่าจริงไหม?
มีประกันแบบ “มีพอ”
คือครบถ้วนเบ็ดเสร็จทุกด้าน
แก้ปัญหาทุกมิติการเงินของบ้าน
.
หากลูกค้าเจ็บป่วย เบิกได้ครบถ้วน
หรือมากที่สุดเท่าที่บริษัทจ่ายตามเงื่อนไข
หากลูกค้าเสียชีวิต
ธุรกิจยังไปต่อได้ ไม่ล้มกลางคัน
รายจ่ายในบ้าน มีประกันช่วยจ่ายแทนผู้จากไป
การศึกษาบุตรยังคงเป็นไปตามแผน
แม่บ้านซึ่งควบอีกตำแหน่งคือ “แม่หม้าย”
ก็ไม่ต้องออกไปทำงานหนัก หาเงินมาชดเชยรายได้ที่หายไป
ทำให้เธอมีเวลาดูแลลูก อย่างที่ผู้หญิงคนหนึ่งควรมีความสุขกับลูกๆ
.
คุณอาจเป็น “โลกทั้งใบ” ของอีกหลายๆ ชีวิต
ทุกชีวิตในครอบครัวล้วนพึ่งพาคุณ
ดังนั้นตรวจสอบกันหน่อยดีไหมครับว่า
กรมธรรม์ที่คุณถือครองนั้นแค่แบบ “พอมี” หรือ “มีพอ"