ประกันชีวิตไม่ใช่รายจ่ายสิ้นเปลือง
แต่คือวิธี “ปลดเปลื้อง” ภาระในครอบครัว
.
เมื่อตัวแทนไปขายประกันคุณอ้อย
เธอเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ต้องทำงานคนเดียว
เพื่อเลี้ยงลูกน้อยอีกสองคน
คุณอ้อยรับฟังข้อมูลอย่างตั้งใจ แต่เธอก็บอกว่ายังไม่จำเป็น
ประกันชีวิตยังดูเป็นเรื่องสิ้นเปลืองสำหรับเธอ และรายได้เธอมีจำกัด
.
ตัวแทนได้พยายามอธิบายถึงความสำคัญของการประกันชีวิต
ในแง่การปกป้องรายได้เพื่อลูกน้อยทั้งสองของเธอ
.
แต่จะด้วยเพราะเหตุใดก็แล้วแต่ คุณอ้อยขอผัดไป
เนื่องด้วยเธอจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อจ่ายค่าเทอมลูกก่อน
ตัวแทนพยายามโน้มน้าวใจเธอว่า ประกันนั้นสำคัญกว่า
และอย่าผัดประกันเลย ให้ทำประกันก่อน
.
คุณอ้อยจึงบอกปัดตัวแทนโดยให้เหตุผลว่า
เดี๋ยวอีกสองเดือนเธอจะมีโบนัส
ตอนนั้นค่อยมาทำประกันอีกครั้งก็แล้วกัน
ตัวแทนจึงทิ้งโบรชัวร์ และ ข้อเสนอไว้ให้คุณอ้อยพิจารณา
.
วันหนึ่งคุณอ้อยขับรถกลับจากที่ทำงาน เธอเป็นคนขับรถช้าและรอบคอบมาก
ขณะที่เธอจอดรอไฟแดง รถสิบล้อที่มีคนขับหลับใน เพราะขับกะซ้อนหลายกะ
พุ่งชนทับรถของคุณอ้อย แบนเหมือนกระป๋องนมถูกเหยียบ
คุณอ้อยเสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ
.
ตัวแทนได้รับโทรศัพท์ในค่ำวันหนึ่ง
พี่สาวคุณอ้อยโทรมา เพราะเห็นข้อเสนอประกันและนามบัตรตัวแทน
พี่สาวถามว่า “คุณอ้อยทำวงเงินเท่าไหร่ และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้สองเท่าใช่ไหม?
ตัวแทนตอบเสียงเศร้า เหมือนมีก้อนจุกในลำคอ
บอกพี่สาวคุณอ้อยไปว่า “พี่อ้อยเซ็นใบสมัครแล้วครับ แต่ให้มาเก็บเงินอีกสองเดือน
กรมธรรม์จึงยังไม่มีผลบังคับ”
.
ตัวแทนได้ยินเสียงปลายสาย ร้องไห้โฮ เสียงพึมพำว่า
“แล้วหลานๆ สองคนจะอยู่กันยังไง ฉันก็ไม่มีรายได้”
.
เรื่องนี้สอนอะไรหลายอย่างตัวแทนคนนี้
ถึงลูกค้าจะเป็นคนไม่ประมาท
แต่คนอื่นประมาท ความเสียหายก็เกิดขึ้นได้
.
ถ้าเขาพยายามอีกนิด
เด็กกำพร้าแม่สองคนจะมีเงินก้อนไว้เลี้ยงดูส่งเสียตนเอง
ตัวแทนจึงตั้งมั่น และบอกกับตัวเองว่า
เขาควรจะพยายามให้หนักกว่านี้
โดยให้เหตุผลถึงความจำเป็น
เราผัดค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถได้
ค่าเทอมลูกได้ ขอผัดเขาเสียหน่อย
ยังไงทุกอย่างก็จะผ่านไปได้ เพราะเรายังอยู่
แต่เราจะผัดพญามัจจุราชนั้น เป็นไปไม่ได้
.
ดังนั้นขอยืนยันอีกครั้งว่า
“ประกันชีวิตไม่ใช่รายจ่ายสิ้นเปลือง
แต่เป็นวิธีปลดเปลื้องภาระต่างๆ”
.
จากตัวแทนคนนั้น