ถ้าผมมีตู้เซฟใบนึง ข้างในมีเงินสดๆ 10 ล้านบาท
มาขายให้คุณในราคาเพียง 300,000 บาท
คุณจะซื้อไว้ไหม???
.
เซฟใบนี้ผ่อนชำระปีละ 300,000 บาท
หากผ่อนมาเพียงปีเดียว ผู้ผ่อนเสียชีวิต
เซฟจะเปิดออกอัตโนมัติ…
ครอบครัวคุณได้เงินสิบล้านบาทไปใช้ทันที
โดยไม่เสียภาษี!!!
.
นั่นเป็นเรื่องอุปมาเปรียบเทียบกับการทำประกันชีวิต
ซึ่งก็เป็นดังนั้นจริงๆ
.
คุณซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตวงเงินสิบล้านบาท
เบี้ยประกันประมาณ 300,000 บาท (แล้วแต่อายุด้วยนะครับ)
เหมือนคุณซื้อเซฟเงินสดใบนี้ไว้ในบ้านแล้ว
.
เงินสิบล้านนี้จะถูกส่งมอบให้ใครคนใดคนหนึ่ง
ณ เวลาใด เวลาหนึ่ง อย่างแน่นอน
คนคนนั้นคือคนที่คุณระบุชื่ออย่างชัดเจน
ให้เป็นผู้รับประโยชน์
.
เมื่อเป็นดังนี้
ในต่างประเทศเขาจึงใช้ “ประกันชีวิต”
เป็นเครื่องมือสร้างสินทรัพย์เพื่อ 2 วัตถุประสงค์นี้
1.ใช้สร้างมรดกก้อนโต โดยใช้ก้อนเล็กๆ ผ่อนไปเรื่อยๆ
เช่นต้องการสร้างมรดกสิบล้าน ก็ผ่อนปีละ 300,000 บาท
แค่นี้มีมรดกให้คนข้างหลังแน่ๆ ไม่ต้องรอลุ้น
.
2.ใช้สร้างมรดกปลอดภาษี และเป็นเงินจ่ายภาษีมรดก
คนรวยๆ ที่ทรัพย์สินเยอะๆ เวลาเขาเสียชีวิต
ทรัพย์สินทุกอย่างต้องเสียค่าโอน และจ่ายภาษี
แต่เงินในกรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ต้องเสียภาษี
แถมได้เงินทันที
.
ทรัพย์สินอื่นๆ ต้องถูกอายัดไว้ก่อนเพื่อเคลียร์ภาษีมรดก
ช่วงนั้นหลายครอบครัวอาจขาดสภาพคล่อง
เงินจากประกันชีวิตก็ช่วยเสริมสภาพคล่องได้
และยังเป็นเงินที่ใช้จ่ายภาษีมรดก
.
การซื้อประกันก็คือ “คุณกำลังซื้อเงินสด”
เปรียบเหมือนคุณซื้อแบงค์ร้อยใบละสามบาท
ใช้เงินก้อนเล็กเพื่อซื้อเงินก้อนใหญ่
นั่นคือข้อดีที่สุดของ “ประกันชีวิต”
.
วันนี้คุณมี “มรดก” ให้คนที่คุณรักแล้วหรือยังครับ?