ตัวแทน: (ขีดเส้นตรงหนึ่งเส้นในกระดาษเปล่า)
ถ้าผมเขียนเส้นตรงมาหนึ่งเส้น แล้วถามคุณว่า
เส้นตรงเส้นนี้สั้นหรือยาว คุณจะตอบได้ไหม?
ถ้าจะรู้ว่าเส้นตรงเส้นนี้สั้นหรือยาวก็ต้องมีเส้นอื่นเปรียบเทียบ
ใช่หรือไม่?
ที่คุณพูดว่าประกันถอนออกยากไม่เหมือนธนาคารก็เช่นกัน
เราพูดในแง่เรื่องการฝาก-ถอน แต่เพียงอย่างเดียว เหมือนขีดเส้นตรงเส้นเดียว
ไม่ได้พูดถึงแง่มุมอื่น
ถ้าผมพูดว่า
หากคุณต้องการฝากธนาคารเพื่อเก็บให้ลูกสักหนึ่งล้านบาท
เพื่ออนาคตของเขา
หากคุณฝากประจำกับธนาคารเดือนละ 3,000 บาท ปีละ 36,000
คุณจะต้องฝากถึง 333 เดือน หรือ 27.7 ปี
ประการที่ 1
ผู้ขายสินค้าสมัยนี้สร้างสิ่งล่อตาล่อใจเยอะเหลือเกิน
โทรศัพท์มือถือใหม่ เสื้อผ้าใหม่ สินค้าฟุ่มเฟือย โปรโมชั่นลดแหลกแจกแถม
คุณอาจอดใจไม่อยู่ ไปถอนเงินตรงนี้ออกมาเพื่อซื้อหา
ตรงนี้การฝากง่ายถอนง่ายกลายเป็นข้อเสียเสียแล้วสำหรับการเก็บเงิน
ฝากธนาคารถอนง่ายกว่าฝากประกัน
ในแง่นี้ เงินสดที่คุณตั้งใจเก็บให้ลูก หรือ ตัวคุณเองยามเกษียณ
ก็จะไม่บรรลุผล เพราะคุณถอนได้ง่ายมากนั่นเอง
ประการที่ 2
หากคุณตั้งใจฝากธนาคารเพื่อเก็บเงินให้ลูก 1,000,000 บาท
และฝากมาได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น
หากผู้ฝากพิการทุพพลภาพ หรือ เสียชีวิตไปก่อน
เงินที่จะนำมาฝากจะหยุดลงทันที
เพราะความสามารถในการหารายได้ของผู้ฝากสูญสิ้นไปเสียแล้ว
เป้าหมายเก็บเงินหนึ่งล้านบาทให้ลูกพังทลายเสียแล้ว
และถ้าผู้ฝากพิการหรือเสียชีวิต วิกฤตในครอบครัวจะมากมาย
และสำคัญกว่าแง่ที่ว่า “ถอนง่าย ฝากง่าย”
แต่หากฝากประกันชีวิตเพียง 3 เดือน
ผู้ฝากเสียชีวิตบริษัทประกันต้องจ่ายเงินให้ลูกของคุณ
1,000,000 บาท
ผู้ฝากพิการ ทุพพลภาพถวารสิ้นเชิง บริษัทประกันก็รับอาสาฝากเงินแทนจนครบ
ลูกคุณก็ได้รับเงินมรดก 1,000,000 บาทเช่นกัน
ประการที่ 3
ดอกเบี้ยที่ได้จากการฝากธนาคารนั้นเสียภาษี 15%
ในขณะที่ฝากประกัน คุณได้ประโยขน์ถึงสองต่อ
.
ต่อแรก คุณนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาท
.
ต่อที่สอง ผลตอบแทนที่ได้รับจากการทำประกันชีวิตไม่เสียภาษีแม้แต่สลึงเดียว
.
สรุป
หากคุณต้องการเก็บเงินจริงๆ
คำถามคือ ถอนง่าย กับ ถอนยาก
อะไรช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายกันแน่
.
อย่างไรก็ดี
ผมไม่ได้บอกว่าฝากธนาคารเลว
ฝากประกันดีกว่า เพื่อเชียร์ขายสินค้า
.
สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อกับคุณ
คือ ของทุกอย่างก็มีหน้าที่ของมัน
ธนาคารมีไว้เก็บเงิน พักเงิน เราคงไม่เก็บเงินสดทั้งหมดไว้ที่บ้าน
หรือฝังตุ่มแบบคนโบราณ สมัยนี้เราก็ฝากแบงค์แทน
.
ประกันมีไว้เพื่อปกป้องและเพิ่มพูนทรัพย์สิน
หากเกิดอะไรขึ้นกับผู้หารายได้
การลงทุนอื่นๆ อาจยังไม่ออกดอกผลเพราะต้องใช้เวลา
จึงได้แค่เงินต้นที่ลงทุนไว้
.
ที่สำคัญ รายได้ที่เกิดจากการทำงานของผู้หารายได้จะสูญหายไป
ปัญหาใหญ่ของคนที่อยู่ข้างหลังคุณเกิดขึ้นแล้ว
.
ลองหลับตาวาดภาพดูว่า การที่พวกเขาขาดรายได้จากคุณไปเป็นเรื่องที่น่าเสียดายหรือไม่?
.
ประกันชีวิต เขาเรียกสินทรัพย์ป๊อบคอร์น
คือตอนฝากไปมันเปรียบเหมือน เมล็ดข้าวโพดเล็กๆ
แต่เมื่อถูกความร้อนมากๆ (เปรียบเหมือนคนเจอวิกฤต)
ข้าวโพดจะแตกตัวกลายเป็นป๊อบคอร์น กลายเป็นสินทรัพย์ก้อนใหญ่
.
ประกันจึงเป็นการนำเงินก้อนเล็กไปสร้างเงินก้อนใหญ่นั่นเอง
เราจึงควรมีเครื่องมือหลายๆ อย่างเพื่อบริหารเงินของเรา
แค่ใช้เครื่องมือนั้นให้ถูก
.
????????????ไข่ไก่หากใส่ตะกร้าเดียว
หากตกแตกก็จะเสียไข่ทั้งหมด
หลักการบริหารเงินง่ายๆ ที่ใช้ได้ผล
บริหารรายได้ที่ได้รับ
.
โดยเอาไปแยกใส่แต่ละตะกร้าดังนี้
????ตะกร้าที่ 1 เพื่อพักเงิน เป็นค่าใช้จ่ายจิปาถะภายในบ้าน
ก็ฝากแบงค์ไป
.
????ตะกร้าที่ 2 เพื่อเพิ่มเงินให้เติบโต เป็นการลงทุน อาจซื้อทอง พันธบัตร หุ้น แล้วแต่ความรู้และจริตของผู้บริหารเงิน
.
????ตะกร้าที่ 3 เพื่อปกป้อง เพื่อให้ไข่อีกสองตะกร้าด้านบนคงอยู่ต่อไป ครอบครัวมีความปกติสุขไม่ประสบปัญหาด้านการเงิน
หากผู้หารายได้จากไปก่อนวัยอันควร หรือพิการทุพพลภาพ
และกลายเป็นเงินก้อนสำคัญสำหรับผู้ฝาก เช่นเงินเพื่อการเกษียณอายุ
.
และเงินที่จะใช้ในงานฌาปนกิจของตนเอง
(หากคุณไม่เตรียมไว้ คนอื่นก็ต้องจ่ายให้คุณ)
เท่านี้ครอบครัวที่รักของคุณก็จะพ้นภัยจากวิกฤตด้านการเงิน
ไม่ต้องเสี่ยงภัยหรือลุ้นเอาว่าหากเกิดปัญหาขึ้นมา
ครอบครัวของเราจะรอดหรือไม่
.
เขียนโดย เจฟ ชัยยะพัส