โดย ชัยยะพัส อินจงกลรัศม์ 13/7/64 22:08 ใช้คำถามดังนี้
1. คุณลูกค้าคิดว่าบริษัทประกันอยากจ่ายเคลม หรือ อยากปฏิเสธการจ่ายครับ
ลูกค้า: ใครล่ะอยากอยากจ่าย บริษัทประกันน่าจะอยากปฏิเสธนะ
ตัวแทน: แต่พี่เชื่อไหมว่า “บริษัทประกันอยากจ่ายเคลมมากกว่าปฏิเสธลูกค้า” ทำไมน่ะหรือครับ
ลองฟังต่อ
2. พี่คิดว่าคำว่า “ปฏิเสธการจ่าย” กับ “เบี้ยวไม่ยอมจ่าย” มีความหมายเดียวกัน หรือ ต่างกันครับ?
ให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็น
ตรงนี้คุณจะเห็นมุมมองของเขาที่มีต่อบริษัทประกัน และ เช็คว่าเขาเข้าใจกระบวนการจ่ายสินไหมของบริษัทประกันหรือไม่
3.พี่เคยทราบไหมครับว่า บริษัทประกันทำธุรกิจบนหลักสถิติ การคำนวนเบี้ยประกันนั้น
นักคณิตศาสตร์ประกันภัยก็คำนวนจาก “อัตรามรณะ อายุ เพศ และ อัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน”
แล้วจึงกำหนดเบี้ยประกันเพื่อให้เหมาะสมกับการรับประกันภัย
และแบบประกัน อัตราเบี้ยประกันจะถูกตรวจสอบโดยรัฐอีกครั้ง ก่อนที่จะนำมาเสนอขายแก่ประชาชน
นั่นแปลว่า เขาได้คำนวนทุกมุม ทุกหน้าไพ่แล้วว่า หากออกหน้าไหนมาก็ไม่ขาดทุน
หากมีการเคลม ก็จะเป็นไปตามสถิติ เขาคำนวนไว้อยู่แล้วว่า ยังไงก็รับไหว จ่ายได้
ซึ่งบริษัทประกันจะไม่ขาดทุนอยู่แล้ว
และตามกฏหมายหากมีการตรวจสอบชัดเจนว่า บริษัทประกันเบี้ยวหรือไม่จ่าย
อาจถูกยึดใบอนุญาตและไม่ให้ดำเนินธุรกิจในราชอาณาจักร
พี่คิดว่าใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต ราคาประมาณเท่าไหร่ครับ?
คุ้มไหมที่จะโดนยึดใบอนุญาต (ราคาเป็นร้อยล้าน) และดำเนินธุรกิจต่อไม่ดี
ชื่อเสียงป่นปี้ เพราะเบี้ยวจ่ายสินไหมโดยไม่มีเหตุผล!
นั่นเรื่องนึง
พี่คิดว่าบริษัทประกันแต่ละแห่ง การจะสร้างแบรนด์ให้มีความน่าเชื่อถือ
ใช้เงินเยอะไหมครับ ค่าโฆษณา ค่าจ้างพรีเซ็นเตอร์
และการโฆษณาทำต่อเนื่องเพื่อตอกย้ำแบรนด์
งบประมาณในแต่ละปีพี่ว่าเยอะไหมครับ?
ที่พูดมาตอนต้นนั้นจะเรียนให้พี่ทราบว่า
แค่เงินที่นำมาประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างแบรนด์
ให้คนเชื่อถือ มั่นใจ นั้นเป็นจำนวนมากโข
4. ที่ในกระทู้ ที่ลูกค้าร้องเรียนมา พี่ลองวิเคราะห์ดูอีกทีว่า
4.1 เวลาใครเขียนอะไร เขาเขียนครบทุกด้านหรือไม่ เขาบอกทุกอย่างหรือไม่?
4.2 เวลาบริษัทประกันจะปฏิเสธการจ่ายสินไหม จะต้องมีเอกสาร เช่น ประวัติสุขภาพ ประวัติการรักษา แล้วสืบทราบว่าลูกค้าปกปิดสาระสำคัญแห่งการทำประกัน เช่น ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชีพ เพราะบางอาชีพความเสี่ยงก็ไม่เท่ากัน เช่น นักบินย่อมเสี่ยงกว่าคนทำงานในออฟฟิศใช่หรือไม่ เบี้ยเขาจึงแพงกว่า
หากบริษัทประกันไม่มีเอกสารยืนยัน เรื่องประวัติสุขภาพ ประวัติอาชีพ
ยังไงบริษัทก็ต้องจ่ายสินไหม เพราะไม่มีหลักฐาน
แต่การที่บริษัทจะปฏิเสธ บริษัทต้องมีหลักฐานเท่านั้น
จะปฏิเสธลอยๆ ไม่ได้
“กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ได้คุ้มครองบริษัทประกัน”
ใจเขาใจเรา ผมเรียนถามพี่ว่า
หากพี่เป็นบริษัทประกัน พี่ใช้งบปีหนึ่งๆ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้คนเชื่อถือ ด้วยเงินหลายสิบล้าน หรือ เป็นร้อยล้าน ทำไมจึงเบี้ยวไม่จ่ายสินไหมหลักหมื่น หลักแสนล่ะครับ ต่อให้หลักล้านก็ยังน้อยมากๆ สำหรับบริษัทประกัน พี่คิดว่าอย่างไรครับ?
4.3 ลูกค้าบางราย บริษัทรู้ทั้งรู้ ว่าเขาเป็นโรคร้ายมาก่อนการทำประกัน แต่เพราะเขาไปรักษาแบบหมอพื้นบ้าน ไม่ใช่โรงพยาบาล ประวัติการรักษาก็ไม่มี ลูกค้ามาทำประกัน และ ป่วยหรือเสียชีวิต บริษัทก็ต้องจ่าย
4.4 สัญญาที่รัฐให้บริษัทประกันทำกับประชาชน พี่คิดว่าผูกมัดใครครับ ลูกค้า หรือ บริษัท?
สมมติลูกค้าทำประกันชีวิตมาหนึ่งปี แล้ว ฆ่าตัวตายโดยเจตนา บริษัทก็ต้องจ่าย
ลูกค้าปกปิดประวัติสุขภาพ ประวัติการรักษาตัวว่าเคยเป็นโรคร้ายแรง บริษัทยกเลิกได้เพียงอนุสัญญา แต่จะยกเลิกสัญญาประกันชีวิตไม่ได้ เมื่อพ้นสองปีไปแล้ว หากลูกค้าตาย บริษัทก็ต้องจ่าย ถึงแม้จะทราบภายหลังว่าปกปิดสาระสำคัญแห่งการทำประกันชีวิต
จะเห็นว่าสัญญาผูกมัดบริษัทหลายข้อ
ส่วนลูกค้าจะยกเลิกสัญญากับบริษัทหรือครับ ง่ายมาก แค่ไม่ส่งเบี้ยประกัน จนกระทั่งมูลค่าเวนคืนกลายเป็นศูนย์ (หากมีการกู้อัตโนมัตมาชำระเบี้ยเพื่อรักษาประโยชน์ลูกค้า)
5. เรื่องนี้จุดเหมือนจุดดำบนผ้าขาว พื้นที่บนผ้ามีสีขาวมีมากกว่าจุดดำเป็นร้อยเท่า แต่คนจะมองเห็นแต่สีดำ
เคสที่เคลมง่าย จ่ายเร็วมีมากกว่าเป็นแสนเคส ล้านเคส แต่ไม่ได้มีการพูดถึง
ผมจึงเรียนพี่ว่า หากพี่บริสุทธิ์ใจ ไม่มีสิ่งใดต้องปกปิด แถลงตามข้อเท็จจริงทุกประการก่อนทำประกัน
พี่จะเคลมได้เหมือนเคสอื่นๆ เป็นแสน เป็นล้านเคส และผมไฟท์ให้พี่สุดใจ ถ้ารู้ว่าพี่ใสสะอาด
(ปิดการขาย)
ไม่ทราบว่าจะทำของพี่คนเดียวก่อน หรือ ทำให้ลูกไปด้วยเลย จะได้คุ้มครองพร้อมๆ กันครับ
ดู 561, ตอบ 0