โดย ชัยยะพัส อินจงกลรัศม์ 19/7/64 18:55 เคยสงสัยกันมั้ย?คะว่า
#ประกันที่ทางธนาคารให้ทำตอนกู้ซื้อบ้านคือประกันอะไร?
#ประกันที่ทางไฟแนนซ์ให้ทำตอนจะซื้อรถคือประกันอะไร?
#แล้วจำเป็นต้องทำมั้ย?
วันนี้สายลมจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
เอาแบบภาษาบ้านๆ เข้าใจง่ายๆ
จะไม่ลงรายละเอียดให้ลึกมาก เอาพอให้เห็นภาพนะคะ
*ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจถึง
>> จุดประสงค์ที่แท้จริงของ”ธนาคาร,ไฟแนนซ์ และบริษัทประกันชีวิต (สายลมจะไม่รวมบริษัทที่เป็นโบร์คเกอร์ทำประกันรถนะคะ) ว่าทำหน้าที่อะไรกันบ้าง? และเกี่ยวข้องกันยังไง?
#ธนาคาร
เป้าหมายหลักเลยของการมี “ธนาคาร” ก็คือ เอาไว้ฝาก-ถอนเงิน เท่านั้นเอง
••คำถามคือ
>แล้วทำไม “ธนาคาร” ถึงปล่อย “สินเชื่อ หรือปล่อยกู้”ล่ะ?
คำตอบคือ เมื่อมีคนฝากเงินเยอะๆ ธนาคารจะแบ่งเงินออกเป็น 3-4 ส่วนหลักๆคือ
1.กันไว้สำหรับลูกค้าที่ “เบิก-ถอน” ให้เพียงพอ
2.ส่วนที่เหลือเอาไปลงทุนในรูปแบบการลงทุนต่างๆ เช่นซื้อหุ้น,
ให้ลูกค้ากู้ผ่านสินเชื่อในรูปแบบต่างๆ ,ซื้อพันธบัตร,ตราสารหนี้ ฯลฯ (ตามนโยบายของแต่ละธนาคารจะไปลงทุนแตกต่างกันไป)
3.ปล่อยให้กู้ ในรูปแบบสินเชื่อซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ฯลฯ แล้วคิดดอกเบี้ยกับผู้ที่กู้
4.กันเงินไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน
**เงินที่ได้จาก ดอกเบี้ยที่ปล่อยกู้ และกำไรที่ได้จากการเอาเงินไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ ก็จะกลายมาเป็น 2 ส่วนหลักๆเลยคือ
1.จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก ให้ลูกค้าที่เอาเงินไปฝากนั่นล่ะ
2.เป็นกำไรของธนาคาร
#บริษัทไฟแนนซ์
เป้าหมายหลักๆเลย คือ ปล่อยกู้ซื้อรถ ซื้อบ้าน ต่างๆ อารมณ์คล้ายกับ “ธนาคาร” แต่จะแตกต่างกันในบางเงื่อนไข
แต่หลักๆเลยคือปล่อยกู้
*กรณีไฟแนนซ์จะไม่เหมือนธนาคาร ที่มีคนเอาเงินไปฝากถอน
สภาพคล่องของเงินจะน้อยกว่าธนาคาร ส่วนใหญ่จะเป็นการระดมทุนมาแล้วมาทำเป็นบริษัทไฟแนนซ์ คร่าวๆค่ะไม่ลงลึกมากเดี๋ยวจะงง
#บริษัทประกันชีวิต
เป้าหมายหลักๆเลย คือการรับทำประกันชีวิต นั่นล่ะไม่มีเป้าหมายอื่นใด
**แต่หลังๆมา หลายๆ “ธนาคาร” มีเงินเยอะ สภาพคล่องดี เลยต่อยอดธุรกิจตัวเอง จากการเป็นแค่ “ธนาคาร” แยกออกมาเป็นบริษัทในเครือข่าย ทำเป็นบริษัทประกันต่างๆ อย่างที่เรารู้กัน #เพื่อที่จะดึงลูกค้าที่ทำประกันชีวิตเอาเงินมาในระบบธนาคารนั่นเอง
**และบริษัทประกันชีวิต ก็ปรับตัวเอง มีการออกแบบแบบประกันให้ใกล้เคียงกับการเอาเงินไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย และการฝากถอนให้สะดวกสบาย เหมือนธนาคารมากขึ้น เช่น
#แบบประกันแบบสะสมทรัพย์ #บำนาญ
แต่บริษัทประกันชีวิตก็คือการรับประกันชีวิตนั่นละค่ะ ต้องมีพ่วงประกันชีวิตไปด้วยเสมอ
#ทั้งนี้เพื่อที่จะดึงลูกค้าที่เอาเงินไปฝากธนาคารเอาเงินเข้ามาในบริษัทประกันชีวิตให้มากขึ้น
พอบริษัทประกันชีวิตมีการเติบโตมากขึ้น คนทำประกันมากขึ้นทำให้มีเงินเยอะขึ้นก็จะแบ่งเงินคล้ายๆกับธนาคาร
1.เตรียมเงิน ไว้สำหรับจ่ายให้ลูกค้า กรณีลูกค้าเคลมประกันต่างๆ เช่นเข้าโรงพยาบาล ลูกค้าเสียชีวิต เป็นต้น
เอาพอเห็นภาพรวมคร่าวๆ พอนะคะ ข้อมูลรายละเอียดปลีกย่อยสามารถหาอ่านได้ ในหนังสือ ในเน็ตทั่วไปค่ะ
ทีนี้เรามาดู 2-3 ข้อสงสัยที่จั่วหัวไว้ข้างบน คือ
1.#ประกันที่ทางธนาคารให้ทำตอนกู้ซื้อบ้านคือประกันอะไร?
คำตอบแบบเข้าใจง่ายๆคือ
*มีอยู่ 3 แบบประกันใหม่ๆคือ
1.1 ประกันอัคคีภัย อันนี้ส่วนใหญ่ธนาคารจะบังคับให้ทำ คือถ้ากู้ซื้อบ้านไปแล้วเกิดไฟไหม้ ก็จะมีประกันส่วนนี้มาช่วยให้ภาระหนี้สินที่กู้มาน้อยลง มากน้อยแล้วแต่กรณีไป ประมาณนี้
1.2 ประกันภัยพิบัติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุ ภัยธรรมชาติต่างๆ
อันนี้ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้
1.3 #ประกันคุ้มครองหลักทรัพย์(TMRA)
อันนี้สำคัญที่เจอกันเกือบทุกรายจริงมั้ยคะ ประกันแบบนี้คือ
“เป็นการรับประกันว่าถ้ากรณีคนที่กู้เสียชีวิต หนี้สินที่เหลือจากการกู้ซื้อบ้าน ให้บริษัทประกันชีวิตจ่าย ครอบครัวผู้กู้ไม่ต้องจ่าย”
>> ไม่เกี่ยวข้องใดกับการทำประกันชีวิตแบบปกติกับริษัทประกันชีวิต คือ ถ้าผู้กู้ซื้อบ้านตาย จะไม่ได้เงินจากบริษัทประกันชีวิต
ถ้าผู้กู้ป่วย ประสบอุบัติเหตุ เข้าโรงพยาบาล ฯลฯ จะไม่สามารถเบิกหรือเคลมกับบริษัทประกันชีวิตได้ทุกกรณี เพราะเป็นการทำประกันสินเชื่อเงินที่กู้ซื้อบ้าน
>> ตามกฏหมายธนาคารไม่มีสิทธิ์บังคับให้ผู้กู้ทำไม่ว่ากรณีใดๆ
สามารถโทรไปที่ #คปภ ได้ทันที ผู้ที่กู้ทำหรือไม่ทำก็ได้
(*ถ้าเราปฏิเสธว่าไม่ทำ ธนาคารก็จะอ้างว่า อาจกู้ไม่ผ่านนะ อาจต้องมีคนค้ำเพิ่มนะ อะไรประมาณนั้น)
2.#ประกันที่ทางไฟแนนซ์ให้ทำตอนจะซื้อรถคือประกันอะไร?
#แล้วจำเป็นต้องทำมั้ย?
คำตอบที่เข้าใจง่ายๆคือ
“เป็นการรับประกันว่าถ้าคนที่กู้ซื้อรถเสียชีวิต หนี้สินที่เหลือจากการผ่อนรถ ทางบริษัทประกันเป็นคนจ่าย ครอบครัวผู้ที่กู้ไม่ต้องจ่าย”
อารมณ์เดียวกันเลยกับกู้ซื้อบ้าน
>> ไม่เกี่ยวข้องใดกับการทำประกันชีวิตแบบปกติกับริษัทประกันชีวิต คือ ถ้าผู้กู้ซื้อรถตาย จะไม่ได้เงินจากบริษัทประกันชีวิต ถ้าผู้กู้ป่วย ประสบอุบัติเหตุ เข้าโรงพยาบาล ฯลฯ จะไม่สามารถเบิกหรือเคลมกับบริษัทประกันชีวิตได้ทุกกรณี เพราะเป็นการทำประกันสินเชื่อเงินที่กู้ซื้อรถ
>> ตามกฏหมายไฟแนนซ์ไม่มีสิทธิ์บังคับให้ผู้กู้ทำไม่ว่ากรณีใดๆ
สามารถโทรไปที่ #คปภ ได้ทันที ผู้ที่กู้ทำหรือไม่ทำก็ได้
(*ถ้าเราปฏิเสธว่าไม่ทำ ไฟแนนซ์ก็จะอ้างว่า อาจกู้ไม่ผ่านนะ อาจต้องมีคนค้ำเพิ่มนะ อะไรประมาณนั้น)
#ประกันแบบนี้คนละอันกันกับที่ทำประกันรถค่ะ
อาจยาวหน่อยแต่คงมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ
#ด้วยความห่วงใย
*ไม่จำเป็นต้องทำประกันกับสายลม
*หาตัวแทนที่ไว้ใจได้
*หาตัวแทนที่สามารถดูแลผลประโยชน์ของคุณได้
*ค่อยๆทำ ตามกำลังของคุณ
*อย่างน้อยๆเลย มีประกันอุบัติเหตุไว้สักเล่มก็ยังดี
*พอมีกำลังก็ค่อยทำประกันสุขภาพ วางแผนเก็บเงิน วางแผนเกษียณ
*ทำประกันกับบริษัทประกันไหนก็ได้ เพราะแต่ละบริษัทมีมาตรฐาน เงื่อนไข ค่าเบี้ย ใกล้เคียงกัน
เครดิต:
Page > ประกันชีวิตคิดบวก by สายลม
หวังว่าข้อมูลนี้จะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยค่ะ
????????????
ดู 528, ตอบ 0