กำลังบันทึกข้อมูล
จะเอาเงินไปซื้อที่ดิน เพื่อเก็งกำไรก่อน
แบ่งปัน
โดย ชัยยะพัส อินจงกลรัศม์ 19/7/64 19:51
ตัวแทน: ผมเข้าใจครับ พี่ต้องคิดดีแล้วว่า ที่ดินผืนนี้ต้องสร้างกำไรให้กับครอบครัวพี่ได้แน่นอน พี่ถึงตัดสินใจอยากเอาเงินไปซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรก่อน

ครอบครัวของรุ่นน้องผมเอง เขาพูดเลยว่า บ้านเขารอดมาได้เพราะ ขายที่ดินที่พ่อซื้อไว้ให้เมื่อหลายสิบปีก่อนแล้วได้เงิน ได้กำไรมาหลายสตางค์

ผมเข้าใจเหตุผลพี่ถูกต้องไหมครับ?

ผู้มุ่งหวัง:   ใช่เลย

ตัวแทน: แล้วทำไมพี่ถึงสนใจจะทำประกันชีวิตล่ะครับ

ผู้มุ่งหวัง: ก็รู้สึกว่า มันก็เป็นการลงทุนที่ดี แต่ที่ดินน่าจะดีกว่า

ตัวแทน: จริงอยู่ครับ ที่ผมพูดว่า ครอบครัวรุ่นน้องผม หรืออีกหลายๆ ครอบครัวที่สามารถรอดพ้นวิกฤติมาได้เพราะที่ดิน ขายที่ดินได้กำไร
 
“ในดีมีเสีย ในเสียมีดี”
ทุกๆ อย่างมีข้อดี ข้อเสีย ขึ้นอยู่สิ่งนั้นถูกออกแบบมาเพื่ออะไร

การลงทุนก็เช่นเดียวกัน
ยกตัวอย่าง
-หุ้น
-ตราสารหนี้
-ที่ดิน

หุ้น นักลงทุนส่วนใหญ่บอกว่าดี ได้กำไรเยอะ แต่ไม่ใช่ทุกคนใช่ไหมครับที่กำไรหุ้น และหลายคนก็หมดตัวเพราะลงทุนเล่นหุ้น

หุ้น เป็นการลงทุนที่ถือว่า สภาพคล่องจะสูงหรือต่ำก็ได้ (การเปลี่ยนเป็นเงินสด) ขึ้นอยู่กับหุ้นผลประกอบการของบริษัท ถ้าเป็นหุ้นบลูชิพ คนแย่งกันซื้อ แต่ถ้าเป็นหุ้นเน่า ก็ไม่มีใครอยากซื้อ สภาพคล่องก็ถือว่าต่ำมาก 
หุ้นให้ผลตอบแทนสูง แต่ความเสี่ยงสูงตามไปด้วยเช่นกัน

ตราสารหนี้ เช่นหุ้นกู้บริษัทเอกชน, พันธบัตรรัฐบาล 
-ให้ดอกเบี้ยปีหนึ่ง 3-4% แต่ก็มีระยะเวลา 5 ปี หรือ 10 ปี จึงจะสามารถนำเงินออกมาได้ 
-ในเงื่อนไขสัญญา ผู้ออกหุ้นกู้อาจคืนเงินหรือไม่คืนเงินผู้ซื้อหุ้นกู้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของบริษัท
- สภาพคล่องต่ำ (ถอนเงินระหว่างทางไม่ได้ต้องรอครบสัญญา) ผลตอบแทนปานกลาง ความเสี่ยงปานกลางถีงสูง 

ที่ดิน
มีโอกาสทำกำไรสูง และ มีโอกาสไม่ทำกำไร สภาพคล่องต่ำที่สุด
เราคงเคยได้ยินข่าวเศรษฐีที่ดินชั่วข้ามคืน เพราะมีถนนสายสำคัญตัดผ่านบริเวณนั้น

แต่หลายครอบครัวมีโฉนดที่ดินติดมือนานนับสิบปี ขายไม่ออก เรืองนี้พี่ไปเช็คกับกรมที่ดินดูสิครับ

หลายครอบครัวตัดสินใจเอาที่ดินมาขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตอนซื้อ เพราะครอบครัวกำลังมีปัญหาต้องการใช้เงินด่วน 

เนื่องจากที่ดินถือเป็นการลงทุนที่สภาพคล่องต่ำที่สุด มันเปลี่ยนเป็นเงินสดไม่ได้ทันที ไม่ใช่ว่าอยากขายวันนี้ แล้วจะมีคนซื้อทันที บางคนรอคอยเป็นสิบปีกว่าจะขายได้ 

ข้อสังเกต: ถ้าคิดว่าที่ดินผืนนี้ดีจริง ได้กำไรแน่แน่ ทำไมคนขายที่ดินแปลงนี้ถึงขายพี่มาในวันนี้ล่ะครับ ทำไมเขาไม่เก็บไว้เอง? 

เพราะเขาก็ต้องการเงินสดด่วนๆ  หรือไม่ก็ผลการเก็งกำไรในอดีตของเขาถึงจุดที่เขาต้องการ ใช่ไหมครับ? 

พูดง่ายๆ พี่รับช่วงต่อการลงทุนมาอีกมือ พี่และครอบครัวก็ต้องรอเวลาเพื่อให้ราคาที่ดินขยับเพิ่มในอนาคต

กรณีพี่อยากใช้เงินสดด่วนๆ พี่เอาที่ดินแปลงนี้ไปวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ ก็กลายเป็นว่าต้องเสียดอกเบี้ยให้หลักทรัพย์ตัวเองเมื่อต้องการเอาเงินออกมาใช้ และก็ไม่แน่ว่าธนาคารจะรับเอาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือไม่?

ถ้าเอาไปค้ำประกันคนปล่อยกู้นอกระบบ เช่นพวกขายฝาก พวกนั้นก็จะกดราคาที่ดินของพี่แทบจะติดติด ผมจึงบอกว่าอาจเป็นการลงทุนที่กำไรก็ได้ ขาดทุนก็ได้
คำพูดที่ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง” จึงเป็นสัจธรรมที่ไม่มีใครเถียงได้

คราวนี้พี่มาดูประกันชีวิตครับ
ถ้าเป็นเรื่องการลงทุน ผมพูดตรง ผลตอบแทนแย่กว่า การลงทุนทั้ง 3 แบบที่ผมกล่าวข้างต้น

ด้วยเหตุว่า ประกันชีวิต ไม่ได้ถูกออกมา “เพื่อการลงทุน”
แต่ถูกออกแบบมาเพื่อ ปกป้องการลงทุนทุกอย่างของพี่ให้ครบทุกมิติ

ถามว่า โดยส่วนใหญ่ ปัญหาในครอบครัวมักจะเกิดจากอะไร?

พี่ลองตรองดูนะครับ ว่าพี่เห็นด้วยกับผมไหม
หุ้นเจ๊ง ก็ยังโอเค หัวหน้าครอบครัวยังอยู่ หาทางแก้ใหม่ สู้ต่อ ครอบครัวไปได้

ตราสารหนี้ถึงผลตอบแทนจะปานกลาง 
แต่หัวหน้าครอบครัวยังอยู่
หารายได้เพิ่มได้ สร้างหลักทรัพย์เพิ่มได้

ที่ดิน ถึงแม้จะขายไม่ได้ตอนนี้ ก็ถือไว้เป็นหลักทรัพย์อีกชิ้น
หัวหน้าครอบครัวยังอยู่ ยังไงก็ยังหารายได้เพิ่ม สร้างหลักทรัพย์เพิ่มได้

แต่ถ้าหัวหน้าครอบครัวไม่อยู่
การลงทุนทุกอย่างไม่สัมฤทธิ์ผล
ใครจะดูพอร์ตหุ้น
ใครจะหาเงินมาซื้อหุ้นกู ซื้อที่ดิน
ที่แน่ๆ ใครจะดูแลครอบครัวของเขา
แล้วจุดมุ่งหมายสูงสุดของการเป็นหัวหน้าครอบครัว คือการทำให้คนที่เขารักที่สุดอยุ่อย่างสุขสบาย มันจะเกิดขึ้นจริงๆ หรือ?

ประกันชีวิตจึงถูกออกแบบมาเพื่อปิด “จุดอ่อน” พวกนี้หมดเลย
นี่เป็นเหตุผลไงครับว่า 
ก่อนที่นักลงทุนเก่งๆ ในต่างประเทศอย่างอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น จะเริ่มลงทุนอะไรสักอย่าง
เขาจะทำประกันชีวิตตัวเองก่อนเลย
เพราะสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดหาใช่ หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล ที่ดิน
หากแต่เป็น “ตัวเขา” ครับ
ดู 1,416, ตอบ 0
โปรแกรมกุนซือประกัน (Beta) V.1
สงวนลิขสิทธิ์ © 2567 พี่ชื่อเจฟ
นโยบายการจัดส่งสินค้า | นโยบายการยกเลิกการสั่งซื้อ | นโยบายการคืนเงิน | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | ข้อเสนอแนะจากผู้ใช้